ไทยลีก คือ การแข่งขันฟุตบอลลีกในระดับสูงสุดของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2539 ภายใต้การบริหารของบริษัท ไทยลีก จำกัด มีสโมสรฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 16 สโมสร โดยแต่ละสโมสรจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 30 นัดต่อสโมสรต่อฤดูกาล รวมทั้งหมด 240 นัดต่อฤดูกาล
ไทยลีก คือ อะไร และมีสโมสรใดบ้างเข้าร่วม
คือ ไทยลีก (อังกฤษ: Thai League; ชื่อเดิม: ไทยพรีเมียร์ลีก , ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก , ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก ) เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ระดับสูงสุดของประเทศไทย บริหารงานโดย บริษัท พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ จำกัดซึ่งถือหุ้นโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสโมสรฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้ง 18 ทีม ตามปกติจะดำเนินการจัดแข่งขัน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคมของทุกปี โดยแต่ละทีมจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 34 นัดต่อทีมต่อฤดูกาล รวมทั้งหมด 306 นัดต่อฤดูกาล ซึ่งการแข่งขันส่วนมาก จะมีขึ้นในวันเสาร์และวันอาทิตย์ แต่บางนัดอาจแข่งขันในวันอังคารหรือวันพุธ ทั้งนี้ ในฤดูกาลปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) เป็นการแข่งขันครั้งที่ 20 และมีผู้สนับสนุนหลักคือบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงมีชื่อเรียกว่า โตโยต้าไทยลีก
ภายหลังจากการเลือกตั้งนายก สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ที่ได้รับเลือกจากสโมสรสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมคนใหม่ได้ประกาศว่าได้ทำการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ขั้นมาทำหน้าที่แทน บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เรียบร้อยแล้วโดยใช้ชื่อว่า บริษัท พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ จำกัด
โดยนับตั้งแต่จัดตั้งลีกขึ้นมามีทั้งหมด 41 สโมสรที่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน และมี 12 สโมสรที่ได้แชมป์ไทยลีก คือ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด , เมืองทอง ยูไนเต็ด , โปลิศ เทโร, ทหารอากาศ และ ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สินธนา, ชลบุรี เอฟซี, พนักงานยาสูบ, เชียงราย ยูไนเต็ด และ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
รูปแบบการแข่งขัน
ใน ไทยพรีเมียร์ลีก มีสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งหมด 18 ทีม ตามปกติจะดำเนินการจัดแข่งขัน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคมของทุกปี โดยแต่ละสโมสรจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 34 นัดต่อสโมสรต่อฤดูกาล ซึ่งในแต่ละนัด ผู้ชนะจะได้ 3 คะแนน เสมอได้ 1 คะแนน แพ้ไม่ได้คะแนน ทั้งนี้เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล สโมสรที่ได้คะแนนรวมสูงสุด จะได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้สิทธิไปแข่งขันรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่มโดยอัตโนมัติ ส่วนทีมที่ได้รางวัลรองชนะเลิศจะได้ไปแข่งในรายการเอเฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก รอบสอง (กรณีสโมสรที่ชนะเลิศหรือรองชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีก และสโมสรที่ชนะเลิศไทยเอฟเอคัพในฤดูกาลเดียวกัน เป็นสโมสรเดียวกัน สิทธิแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือก รอบสอง ซึ่งปกติเป็นของสโมสรชนะเลิศไทยเอฟเอคัพ จะตกเป็นของสโมสรที่ได้คะแนนอันดับที่ 3 ของไทยพรีเมียร์ลีกแทน) ส่วนทีมที่ได้คะแนนรองลงมา จะเรียงอันดับลดหลั่นกันตามคะแนนรวมที่ได้ โดยสามอันดับสุดท้าย จะตกชั้นสู่ไทยลีกดิวิชัน 1 และสามอันดับแรก จากไทยดิวิชัน 1 จะขึ้นชั้นมาแทน ในกรณีที่มีทีมมากกว่า 1 ทีมขึ้นไป ได้คะแนนรวมเท่ากันเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาเรียงลำดับดังนี้
- พิจารณาจากผลการแข่งขันของทีมที่มีคะแนนเท่ากันที่เคยแข่งกันมาในฤดูกาลที่เพิ่งจบการแข่งขัน (Head To Head)
- พิจารณาจากจำนวนครั้งที่ชนะ (Number of Wins) ของแต่ละทีมที่คะแนนเท่ากัน
- พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ และประตูเสีย (Goals Difference)
- พิจารณาเฉพาะประตูได้ (Goals For)
แข่งขันกันใหม่ 1 นัด เพื่อหาทีมชนะ หากผลการแข่งขันเสมอกันในเวลาปกติให้ตัดสินด้วยการเตะลูกโทษ ณ จุดเตะโทษในกรณีที่พิจารณาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นตามลำดับแล้วและได้เกณฑ์ตัดสินตามข้อหนึ่งข้อใดแล้วให้ยุติการพิจารณาข้อต่อไป ในการจัดอันดับระหว่างการแข่งขัน เพื่อแสดงลำดับในตารางคะแนนระหว่างฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาดังต่อไปนี้
- พิจารณาจากคะแนนรวมสูงสุด
- ถ้าคะแนนรวมเท่ากันให้พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ ประตูเสีย
- ถ้ายังเท่ากันอีกให้ดูเฉพาะประตูได้
- ถ้ายังเท่ากันอีกให้ทำการจับฉลาก
การแข่งขันฟุตบอลลีกภายในประเทศไทยภายใต้การจัดของ บริษัท ไทยลีก จำกัด ตั้งแต่ฤดูกาล 2560 ได้แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ต่อมาในฤดูกาล 2563 ได้มีการปรับลดเหลือเป็น 4 ระดับโดยมีชื่อเรียกหลักอย่างเป็นทางการประกอบด้วย
- ไทยลีก (Thai League) ชื่อย่อ T1 เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพระดับสูงสุดของประเทศไทย โดยฤดูกาล 2560 สโมสรที่จบอันดับที่ 1-15 ของ ฤดูกาล 2559 และ สโมสรอันดับ 1-3 จาก ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2559 รวมเป็น 18 สโมสร และตั้งแต่ฤดูกาล 2562 เป็นต้นมา ได้มีการปรับลดจำนวนสโมสรที่ทำการแข่งขันเป็น 16 สโมสร เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดตารางแข่งขันให้ ฟุตบอลทีมชาติไทย ได้มีเวลาเตรียมทีมแข่งขันรายการต่างๆ และสามารถมีช่วงเวลาหยุดพักแข่งขันตามหลักสากล
- ไทยลีก 2 (Thai League 2) ชื่อย่อ T2 เป็นการแข่งขันฟุตบอลอาชีพระดับที่สองรองจาก ไทยลีก โดย ฤดูกาล 2560 สโมสรที่จบอันดับ 16-18 จาก ไทยลีก ฤดูกาล 2559, สโมสรที่จบอันดับ 4-15 จาก ฤดูกาล 2559 และ 3 สโมสรที่ได้สิทธิ์เลื่อนชั้น จาก ลีกภูมิภาค ฤดูกาล 2559 รวมเป็น 18 สโมสร
- ไทยลีก 3 (Thai League 3) เป็นฟุตบอลลีกอาชีพระดับ 3 รวมเป็น 76 สโมสร แบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 โซน
- ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (Thailand Amateur League) ชื่อย่อ TA ลีกสมัครเล่น
เงินรางวัล
- ชนะเลิศ: 10,000,000 บาท
- รองชนะเลิศ: 2,000,000 บาท
- อันดับสาม: 1,500,000 บาท
- อันดับสี่: 800,000 บาท
โดยทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล สำหรับสโมสรฟุตบอลซึ่งได้คะแนนรวมในอันดับต่างๆ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล
นอกจากนี้ ยังมีเงินบำรุงสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน สโมสรละ 1,000,000 บาท โล่พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท สำหรับผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม และผู้ทำประตูสูงสุด, โล่พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท สำหรับสโมสรที่มีมารยาทยอดเยี่ยม, นักฟุตบอลเยาวชนผู้มีผลงานโดดเด่น และผู้เล่นยอดเยี่ยมตำแหน่งต่างๆ คือผู้รักษาประตู, กองหลัง, กองกลาง และกองหน้า
ถ้วยรางวัล ถ้วยรางวัลไทยลีก ใช้ตั้งแต่ฤดูกาล 2560
- 2554 – 2558 ในปี 2010 ทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัทไทยพรีเมียร์ลีก ได้จัดทำถ้วยไทยพรีเมียร์ลีกขึ้นใหม่ โดยถ้วยนั้นออกแบบโดย กลูครีเอทีฟ จากประเทศอังกฤษ และผลิตที่เมือง เชฟฟีลด์ ตัวถ้วยมีความสูง 75 เซนติเมตร หนักมากกว่า 30 กิโลกรัม
- 2559 (ถ้วยพระราชทานประเภท ก) หลังจากที่ สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ชนะการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในเดือน กุมภาพันธ์ 2559 สมาคมฯได้อัญเชิญ ถ้วยพระราชทานประเภท ก เป็นถ้วยรางวัลชนะเลิศสำหรับแชมป์ไทยลีก หลังจากที่ถ้วยนี้ได้ใช้เป็นถ้วยชนะเลิศ ตั้งแต่ปี 2459 ถึง 2538
- 2559 (เฉพาะกิจ) สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จัดทำถ้วยแชมป์ไทยลีก และดิวิชั่น 1 ขึ้นมาใหม่แบบเฉพาะกิจ เพื่อมอบให้กับ เอสซีจี เมืองทองฯ แชมป์ไทยลีก 2016 และไทยฮอนด้า แชมป์ดิวิชั่น 1 2016 ในวันที่ 17 และ 18 ก.พ. ตามลำดับ ท่ามกลางความสงสัยของคนวงการฟุตบอล ว่าเหตุใดถึงทำถ้วยใบใหม่ขึ้นมา และเหตุใดถึงไม่ใช้ถ้วยใบเก่า พาทิศ ศุภะพงษ์ รองเลขาธิการสมาคมฯ และโฆษกสมาคมฯ กล่าวว่าสาเหตุที่ไม่สามารถนำถ้วยแชมป์ใบเก่ามามอบให้กับ เมืองทองฯ ได้ เนื่องจากเป็นถ้วยของ บ.ไทยพรีเมียร์ลีก หรือบริษัทเดิมที่จัดการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก ทว่าปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงบริษัทเป็น บ.ไทยลีก จำกัด ดังนั้นจึงต้องทำถ้วยใบใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นสมบัติของ บ.ไทยลีก
- 2560 – ปัจจุบัน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2560 ณ ห้องประชุม 127 สนามราชมังคลากีฬาสถาน สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และ บริษัท ไทยลีก จำกัด ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวการเปิดตัวถ้วยรางวัลสำหรับฟุตบอลลีกอาชีพ 4 รายการ ถ้วยรางวัลทั้งหมดถูกออกแบบ โดย จอห์น นิกซ์, ปีเตอร์ วิลสัน และ คิม เซาแธม ชาวสหราชอาณาจักรที่ผลงานระดับโลก อาทิ ออกแบบรางวัลนักเตะชายและหญิงยอดเยี่ยมแห่งปีของยูฟ่า, โทรฟี่ฟุตบอลหญิงแชมเปี้ยนส์ ลีก ฯ ซึ่งถ้วยรางวัลของฟุตบอลลีกอาชีพ และฟุตบอลถ้วยของไทยใบใหม่นี้ถือเป็นผลงานที่หล่อขึ้นมาใหม่ชิ้นต่อชิ้นของพวกเขา นอกจากนี้ยังสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทย ด้วยการใช้ลวดลายกนก โดยถ้วยรางวัลฟุตบอลลีกอาชีพทั้ง 4 ระดับนั้น จะมีลวดลายที่คล้ายคลึงกัน ต่างเพียงวัสดุที่ใช้ ทั้งนี้ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และ บ.ไทยลีก จำกัด จะจัดพิธีการมอบถ้วยรางวัลที่ออกแบบใหม่ให้กับทีมแชมป์ โตโยต้า ไทยลีก, เอ็ม-150 แชมเปียนชิพ, ยูโร่เค้ก ลีก โปร และ ยูโร่เค้ก ลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2017 นี้เป็นต้นไป[19]
สรุป
ไทยลีก คือ การเเข่งขันฟุตบอลอย่างมืออาชีพ กับทีมนักเตะมากมายหลายภาคทั่วทั้งประเทศไทย เข้ามาร่วมกันก่อตั้งเป็นสโมสรทีมฟุตบอลตั้งแต่ปี พ.ศ 2539 เป็นต้นมา ภายหลังจากการเลือกตั้งนายก สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ได้ตำแหน่งนายกสมาคมคนใหม่ได้ประกาศว่าได้ทำการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ขั้นมาทำหน้าที่แทน บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เรียบร้อยแล้วโดยใช้ชื่อว่า บริษัท พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ จำกัด
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ตารางบอลไทย บอลไทยลีก กับ รายละเอียดบอลไทย พร้อมเจาะลึกอย่างละเอียดผ่านเว็บ heng99
- สมัครแทงบอลออนไลน์ เว็บแทงบอลยอดนิยม ผลบอลสดไทย เว็บพนันบอลสดสร้างกำไรทำเงินได้อย่างแท้จริง
- แทงบอลได้เงินจริง แทงบอลออนไลน์ยากไหม ? ตีกระจ่างไปพร้อมๆกันกับ HENG99
- แผนฟุตบอล คือ อ่านแผนการเล่นอย่างไร? รวมแผนการเล่นฟุตบอลที่โดดเด่น
- โปรตุเกสซุปเปอร์ลีก คือ การเดิมพันบอลรูปแบบใหม่พร้อมวิธีเดิมพันได้เงินจริงผ่านเว็บตรง heng99